รู้ทัน…ป้องกันข้อเข่าเสื่อม

รู้ทัน…ป้องกันข้อเข่าเสื่อม

ต้องบอกว่า ‘เข่า’ เป็นอวัยวะสำคัญในการรับน้ำหนักตัวและเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อใดที่เข่าเริ่มมีความเจ็บปวดเข้ามาเตือนนั่นอาจเป็นสัญญาณของ “โรคข้อเข่าเสื่อม” ซึ่งเกิดจากกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่เสมือนกันชนรองรับน้ำหนักและแรงกดกระแทกของร่างกายเสื่อมสภาพลงจนบางมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กระดูกในข้อเข่าเสียดสีกัน จนเป็นสาเหตุของอาการปวดและอักเสบ อาการนี้เองที่ทำให้ไม่ค่อยแฮปปี้กับไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันกันมากนัก

รองศาสตราจารย์ นพ.ปัญญา ไข่มุก คณะกรรมการกองทุน สสส. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูก ข้อ และวิทยาศาสตร์การกีฬา บอกกับเราว่า ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคด้านข้ออันดับ 1 ของคนไทย ที่พบในวัยเก๋าอายุ 55 ปีขึ้นไป แต่สามารถมีอาการนี้ก่อนวัยได้เช่นกัน สาเหตุนั้นมีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  1. ไลฟ์สไตล์ที่ชอบงอเข่าเกิน 90 องศา ไม่ว่าจะเป็นนั่งขัดสมาธิ นั่งยองๆ หรือคลานเข่า ที่ทำให้เกิดแรงบีบกระแทกบริเวณเข่า และหากทำต่อเนื่องนานๆ กระดูกของเราก็จะสึกไวขึ้น
  2. น้ำหนักตัวที่มาก เพราะข้อเข่าเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักตัวของเราไว้
  3. พันธุกรรมและการเคยได้รับบาดเจ็บรุนแรง

แล้วอาการของโรคหล่ะ เป็นอย่างไร? หลายคนอาจจะคิดว่า ถ้ามีเสียงดังกร๊อบแกร๊บเวลาขยับ น่าจะเป็นสัญญาณของโรคข้อเข่าเสื่อม แต่จริงๆแล้ว ข้อเข่าเสื่อมจะไม่เสียง มีเพียงความรู้สึกฝืดๆภายในข้อ มีอาการปวดและเจ็บเวลาเคลื่อนไหว เหยียดข้อได้ไม่สุด ปวดเข่า ตึงน่อง เมื่อยน่อง เข่าบวม เดินแล้วไม่มั่นคง รู้สึกเหมือนเข่าหลวม จนกระทั่งเข่าโก่งผิดรูป หากโก่งมากแพทย์อาจให้รักษาด้วยการผ่าตัดข้อเข่าเทียม

เราจะรู้ทัน...ป้องกัน ‘ข้อเข่าเสื่อม’ อย่างไรบ้าง ? จะวัยเก๋าหรือวัยไหนๆ ก็สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ โดยการ…

  1. เติมวิตามินดีและแคลเซียมเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกจากอาหารที่กินในประจำวัน เช่น ซุปน้ำต้มกระดูก ปลาเล็กปลาน้อย นม โยเกิร์ต พืชผักใบเขียว ถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น โดยที่ร่างกายจะใช้วิตามินดีจากการกิน20% ส่วนอีก 80% มาจากการรับแสงแดดก่อน 8 โมงเช้า และหลัง 4 โมงเย็น วิตามินจะถูกเก็บเอาไว้ใช้เมื่อแคลเซียมที่ได้จากการกินหมดลง
  2. ออกกำลังกายเพิ่มความกระฉับกระเฉง อย่างการยืนแกว่งแขน เดิน เต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน หรือเพียงแค่ทำงานบ้าน หรือขึ้นลงบันไดก็ถือเป็นหนึ่งในการใช้กล้ามเนื้อแล้ว
  3. ลดสาเหตุการเกิดข้อเข่าเสื่อม ด้วยการ ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี ไม่ต้องผอม แต่ก็ไม่ควรอ้วนลงพุง ปรับไลฟ์สไตล์ใหม่ ทั้งไม่นั่งงอเข่าเกิน 90 องศา ไม่อยู่ในท่าที่ทำให้ข้อเข่าต้องรับแรงอัดกระแทกหนักๆ

เพียงเท่านี้ก็ยืดเวลาที่ลุกก็โอย นั่งก็โอยก่อนที่จะถึงวัยแล้วนะคะ

แต่ถ้าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้วจะทำอย่างไร?

บทความจาก "หมอขอเล่า" ได้บอกไว้ว่า

เวลาเจอผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมผมมักจะพูดกับคนไข้ว่า โรคข้อเข่าเสื่อมเหมือนเครื่องยนต์ที่เสื่อม ทำได้เเต่ชะลอความเสื่อม ไม่ก็เปลี่ยนอะไหล่ใหม่(หมายถึงเปลี่ยนข้อเข่า) ซึ่งความคิดนี้อาจจะถูกต้องในปัจจุบัน เเต่ในอนาคตความคิดนี้อาจจะไม่ถูกต้อง เมื่อมี stemcell !!

stemcell หรือเซลล์ต้นกำเนิด เป็น เซลล์ที่ยังไม่เปลี่ยนเเปลงรูปร่างอย่างถาวร มีคุณสมบัติที่จะเเปรเปลี่ยนเป็น เซลล์ได้หลากหลายเเทบทุกชนิดในร่างกายซึ่งรวมไปถึงเปลี่ยนเป็น เซลล์กระดูกอ่อนที่บริเวณเข่าได้ !!!!!!

โดยมีนักวิทยาศาสตร์ ได้นำ stem cell จากบริเวณไขกระดูก ของผู้ป่วยมาเข้ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เเละนำไปฉีดเข้าไปในบริเวณเข่าของผู้ป่วยเพื่อเเปรเปลี่ยสภาพเป็นเซลล์กระดูกอ่อนในข้อเข่า

ซึ่งในการทดลองทางคลินิค พบว่าผลลัพธ์ หลังฉีด stemcell ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยดูจากหลายทาง อาทิเช่น อาการปวด จากผล mri เข่า เเละ biomarker ที่บ่งบอกถึงการอักเสบในเข่าต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์ทั้งหมดเป็นในทางที่ดีขึ้น เเละยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนเเรงอื่นๆ อาจจะกล่าวได้ว่า เรื่อง stem cell กำลังจะเป็นความหวังในการเเพทย์ยุคใหม่

ขอบคุณข้อมูลจาก :

- กิจกรรมห้องเรียนสูงวัยกายใจยังสุข ตอนรู้ทัน ป้องกัน “ข้อเข่าเสื่อม” วันที่ 21 กรกฎาคม 2561
- thaihealth.or.th
- หมอขอเล่า blockdit.com

สอบถามรายละเอียดได้ทาง Line

เพิ่มเพื่อน

Leave a Reply

Your email address will not be published.