ต้องบอกว่า ‘เข่า’ เป็นอวัยวะสำคัญในการรับน้ำหนักตัวและเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อใดที่เข่าเริ่มมีความเจ็บปวดเข้ามาเตือนนั่นอาจเป็นสัญญาณของ “โรคข้อเข่าเสื่อม” ซึ่งเกิดจากกระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่เสมือนกันชนรองรับน้ำหนักและแรงกดกระแทกของร่างกายเสื่อมสภาพลงจนบางมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กระดูกในข้อเข่าเสียดสีกัน จนเป็นสาเหตุของอาการปวดและอักเสบ อาการนี้เองที่ทำให้ไม่ค่อยแฮปปี้กับไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันกันมากนัก
รองศาสตราจารย์ นพ.ปัญญา ไข่มุก คณะกรรมการกองทุน สสส. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูก ข้อ และวิทยาศาสตร์การกีฬา บอกกับเราว่า ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคด้านข้ออันดับ 1 ของคนไทย ที่พบในวัยเก๋าอายุ 55 ปีขึ้นไป แต่สามารถมีอาการนี้ก่อนวัยได้เช่นกัน สาเหตุนั้นมีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- ไลฟ์สไตล์ที่ชอบงอเข่าเกิน 90 องศา ไม่ว่าจะเป็นนั่งขัดสมาธิ นั่งยองๆ หรือคลานเข่า ที่ทำให้เกิดแรงบีบกระแทกบริเวณเข่า และหากทำต่อเนื่องนานๆ กระดูกของเราก็จะสึกไวขึ้น
- น้ำหนักตัวที่มาก เพราะข้อเข่าเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักตัวของเราไว้
- พันธุกรรมและการเคยได้รับบาดเจ็บรุนแรง
แล้วอาการของโรคหล่ะ เป็นอย่างไร? หลายคนอาจจะคิดว่า ถ้ามีเสียงดังกร๊อบแกร๊บเวลาขยับ น่าจะเป็นสัญญาณของโรคข้อเข่าเสื่อม แต่จริงๆแล้ว ข้อเข่าเสื่อมจะไม่เสียง มีเพียงความรู้สึกฝืดๆภายในข้อ มีอาการปวดและเจ็บเวลาเคลื่อนไหว เหยียดข้อได้ไม่สุด ปวดเข่า ตึงน่อง เมื่อยน่อง เข่าบวม เดินแล้วไม่มั่นคง รู้สึกเหมือนเข่าหลวม จนกระทั่งเข่าโก่งผิดรูป หากโก่งมากแพทย์อาจให้รักษาด้วยการผ่าตัดข้อเข่าเทียม
เราจะรู้ทัน...ป้องกัน ‘ข้อเข่าเสื่อม’ อย่างไรบ้าง ? จะวัยเก๋าหรือวัยไหนๆ ก็สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ โดยการ…
- เติมวิตามินดีและแคลเซียมเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกจากอาหารที่กินในประจำวัน เช่น ซุปน้ำต้มกระดูก ปลาเล็กปลาน้อย นม โยเกิร์ต พืชผักใบเขียว ถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น โดยที่ร่างกายจะใช้วิตามินดีจากการกิน20% ส่วนอีก 80% มาจากการรับแสงแดดก่อน 8 โมงเช้า และหลัง 4 โมงเย็น วิตามินจะถูกเก็บเอาไว้ใช้เมื่อแคลเซียมที่ได้จากการกินหมดลง
- ออกกำลังกายเพิ่มความกระฉับกระเฉง อย่างการยืนแกว่งแขน เดิน เต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน หรือเพียงแค่ทำงานบ้าน หรือขึ้นลงบันไดก็ถือเป็นหนึ่งในการใช้กล้ามเนื้อแล้ว
- ลดสาเหตุการเกิดข้อเข่าเสื่อม ด้วยการ ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี ไม่ต้องผอม แต่ก็ไม่ควรอ้วนลงพุง ปรับไลฟ์สไตล์ใหม่ ทั้งไม่นั่งงอเข่าเกิน 90 องศา ไม่อยู่ในท่าที่ทำให้ข้อเข่าต้องรับแรงอัดกระแทกหนักๆ
เพียงเท่านี้ก็ยืดเวลาที่ลุกก็โอย นั่งก็โอยก่อนที่จะถึงวัยแล้วนะคะ
แต่ถ้าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแล้วจะทำอย่างไร?
บทความจาก "หมอขอเล่า" ได้บอกไว้ว่า
เวลาเจอผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมผมมักจะพูดกับคนไข้ว่า โรคข้อเข่าเสื่อมเหมือนเครื่องยนต์ที่เสื่อม ทำได้เเต่ชะลอความเสื่อม ไม่ก็เปลี่ยนอะไหล่ใหม่(หมายถึงเปลี่ยนข้อเข่า) ซึ่งความคิดนี้อาจจะถูกต้องในปัจจุบัน เเต่ในอนาคตความคิดนี้อาจจะไม่ถูกต้อง เมื่อมี stemcell !!
stemcell หรือเซลล์ต้นกำเนิด เป็น เซลล์ที่ยังไม่เปลี่ยนเเปลงรูปร่างอย่างถาวร มีคุณสมบัติที่จะเเปรเปลี่ยนเป็น เซลล์ได้หลากหลายเเทบทุกชนิดในร่างกายซึ่งรวมไปถึงเปลี่ยนเป็น เซลล์กระดูกอ่อนที่บริเวณเข่าได้ !!!!!!
โดยมีนักวิทยาศาสตร์ ได้นำ stem cell จากบริเวณไขกระดูก ของผู้ป่วยมาเข้ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เเละนำไปฉีดเข้าไปในบริเวณเข่าของผู้ป่วยเพื่อเเปรเปลี่ยสภาพเป็นเซลล์กระดูกอ่อนในข้อเข่า
ซึ่งในการทดลองทางคลินิค พบว่าผลลัพธ์ หลังฉีด stemcell ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมโดยดูจากหลายทาง อาทิเช่น อาการปวด จากผล mri เข่า เเละ biomarker ที่บ่งบอกถึงการอักเสบในเข่าต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์ทั้งหมดเป็นในทางที่ดีขึ้น เเละยังไม่พบผลข้างเคียงที่รุนเเรงอื่นๆ อาจจะกล่าวได้ว่า เรื่อง stem cell กำลังจะเป็นความหวังในการเเพทย์ยุคใหม่
ขอบคุณข้อมูลจาก :
- กิจกรรมห้องเรียนสูงวัยกายใจยังสุข ตอนรู้ทัน ป้องกัน “ข้อเข่าเสื่อม” วันที่ 21 กรกฎาคม 2561
- thaihealth.or.th
- หมอขอเล่า blockdit.com
สอบถามรายละเอียดได้ทาง Line
Leave a Reply